OUR SERVICES
Ways we deliver impacts
CU D4S พัฒนาบริการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้ความรู้ด้านการออกแบบถูกส่งต่อไปให้เกิดผลลัพธ์ทางสังคม โดยมีบริการในกลุ่ม “Entrepreneur Companionship” หรือ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ CU D4S ที่เป็นบริการหลักเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ของงานวิชาการในรูปแบบใหม่ และบริการในกลุ่ม “Design to Impact Accelerator” ที่มี product อ้างอิงหลักการออกแบบเชิงวิชาการที่หลากหลายที่สถาบันอุดมศึกษาสามารถต่อยอดเพื่อตอบเป้าหมายขององค์กรและสังคมได้อย่างรวดเร็ว
Entrepreneur Companionship
หรือที่รู้จักในนาม ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ CU D4S (D4S Commercialize) เป็นบริการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวกับการออกเพื่อสังคมที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นสินค้า/บริการออกสู่ตลาด ตั้งแต่ระยะเริ่มสร้างไอเดียให้เป็นธุรกิจ สร้างต้นแบบ ทดลองตลาด และระดมทุนเพื่อกลายเป็นวิสาหกิจต่อไป โดยบริการนี้ออกแบบมาเพื่อนิสิต ศิษย์เก่า อาจารย์ และนักวิจัยภายในมหาวิทยาลัยเป็นหลัก
- Business plan consultation
- Matching fund-platform
- Business pitching coach
- IP patent consulting
- Business network

Design to Impact Accelerator
เป็นบริการสนับสนุนให้องค์ความรู้ทางวิชาการที่เกี่ยวกับการออกแบบเพื่อสังคม ได้เปลี่ยนรูปแบบการส่งผลลัพธ์ทางสังคมไปในเชิง entrepreneurial หรืออีกนัยหนึ่งคือ บริการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนเจ้าขององค์ความรู้ด้านการออกแบบสามารถนำความรู้นั้นไปทำธุรกิจ เป้าหมายคือกลายไปเป็นผู้ประกอบการหรือกิจการเพื่อสังคมได้อย่างยั่งยืน ไม่ว่าเจ้าขององค์ความรู้จะเป็นนิสิต อาจารย์ นักวิจัย ภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัยก็ตาม
- Life-long Learning on Architecture and Design (workshop, training, short-course with certificate)
- Design Talk Series
- Circular Design Lab/Contest
- Design Research Support
- Academic Conference Organizing
- Academic Excursion and Fieldtrip
บริการทั้งหมดนี้สอดคล้องเชื่อมโยงกันในฐานะที่มีบทบาทในชั้นต่าง ๆ ของการจุดประกายให้เกิด sustainable design entrepreneur อย่างต่อเนื่องดังนี้

- Knowledge transition workshop: จัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการเผยแพร่ แลกเปลี่ยน และสร้างแรงบันดาลใจเรื่องผลลัพธ์ทางสังคมที่เกิดจากการออกแบบ เช่น งานเสวนา สัมมนา อบรม ทัศนศึกษา จนไปถึงการพัฒนาหลักสูตรของ CUD4S
- Research support: บริการอำนวยความสะดวกกับโครงการวิจัยที่เป็นการออกแบบเพื่อสังคมที่เป็นธุรกิจได้ เช่น การให้คำปรึกษาด้านแหล่งทุน การตีกรอบแนวคิดงานวิจัย การช่วยติดต่อประสานงานเก็บข้อมูล
- Social design service: บริการประสานจัดกิจกรรมออกแบบ prototype สินค้าและบริการ ระหว่างหน่วยงานภายนอกและผู้ถือองค์ความรู้ด้านงานวิจัย/ออกแบบ ซึ่งคือบุคลากรของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันได้แค่ คณาจารย์ นิสิตปัจจุบัน และศิษย์เก่า เช่น การจัดการประกวดแบบ การจัด hackathon
- Commercialize: บริการให้คำปรึกษา ดูแล นักออกแบบหรือนักวิจัยที่มีผลงานและมีความสนใจนำผลงานสู่ตลาดเพื่อสร้างผลลัพธ์อย่างยั่งยืน จนเป็น startup ที่สามารถ spin-off ออกไปดำเนินธุรกิจ enterprise/social enterprise ได้ด้วยตัวเอง